Verterra พลิกวิถีธรรมชาติจากเศษใบไม้สู่งานดีไซน์แบบยั่งยืน | Lifeweekend.com

Verterra พลิกวิถีธรรมชาติจากเศษใบไม้สู่งานดีไซน์แบบยั่งยืน

ย้อนกลับไปหลายปีก่อน
Michael Dworkได้ออกเดินทางจากอเมริกาเพื่อไปเรียนภาษาที่ประเทศจีน จากนั้นอีก2ปี เขาได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่อที่ประเทศอินเดีย
ที่นั่นทำให้เขาได้พบกับสิ่งที่ทำให้เปลี่ยนชีวิตของเขา

9x9_Extra_Large_Square_Plates_1024x1024

————–

ขณะที่เขาขับรถตามทางชนบทของอินเดีย

Michael ได้เห็นวิถีชีวิตข้างทางของชาวอินเดียที่เอาใบปาล์มมาแช่น้ำ

แล้วนำไปอบบนเพลทเหล็กเพื่อทำให้ใบไม้แห้งและแข็ง แล้วนำมาเป็นจานใส่อาหารขายให้ลูกค้า

ในสายตาเขาได้มองเห็นถึงนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainability)

และ สามารถทำได้ทันทีและกระทบต่อโลกน้อยที่สุด

michael จึงเกิดไอเดียคิดทำภาชนะใส่อาหารที่เกิดจากการใช้ใบไม้มาปั๊มขึ้นรูป

โดยเพิ่มงานออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่า (Value added)เข้าไปในงาน

5931980_orig

โดยที่ธุรกิจของเขาทำให้เกิดการจ้างงานจากชาวบ้านในชุมชนนั้นโดยเป็นฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดโลก

คำว่า Verterra มีรากฐานมาจากภาษาละติน “Veritas Terra” ซึ่งหมายถึง “ความจริงเพื่อโลก

Verterra ได้นำเสนอความเป็นธรรมชาติในแต่ละชิ้น การผลิตอย่างยั่งยืน น้ำหนักเบาแต่แข็งแรง

 Verterra สามารถเข้าไมโครเวฟได้ ใส่ได้ทั้งอาหารร้อน อาหารเย็น ของเหลว รวมทั้งทนต่อแสงอาทิตย์

ไม่เพียงเท่านั้น Verterra เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากธรรมชาติ ไม่มีกาว Lacquer หรือ พลาสติก จึงปลอดภัยในการบริโภค

แม้เราจะไม่มั่นใจว่าอาหารเราปลอดภัยมั้ยแต่อย่างน้อยภาชนะก็ปลอดภัยในการบริโภค

———————————————–

กระบวนการผลิต

ขั้นตอนแรกคือการเก็บรวบรวมใบปาล์มที่ร่วงจากสวนปาล์ม ซึ่งก่อนหน้านี้ใบไม้จำนวนมหาศาลเหล่านี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร

ใบจะถูกนำเข้าไปในโรงงานที่ฉีดพ่นด้วยน้ำแรงดันสูงและนึ่งฆ่าเชื้อด้วยยูวี

กว่า80%ของน้ำที่ใช้ในกระบวนการนี้คือน้ำที่ Reuse

ในความเป็นจริงทั้งกระบวนการผลิตใช้เพียง 10% ของพลังงานที่ใช้ในการรีไซเคิลภาชนะอื่น

ไม่มีสารเคมีแลคเกอร์กาวหรือสารพิษอื่น ๆ

เพราะฉะนั้นการใช้ภาชนะช่วยให้อาหารและโลกปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายได้มากยิ่งขึ้น

gbverterra_01

ความรับผิดชอบต่อสังคม

Verterra มีแรงบันดาลใจจากวลีที่ว่า

ภารกิจของเราคือการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่ยุติธรรมโดยใช้วิธีการผลิตอย่างยั่งยืนและค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม

จากที่ภาชนะของเราสามารถย่อยสลายได้ ทนทานและปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อสังคมของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

การสร้างภาชนะจากใบไม้ (ปาล์มที่ร่วง)

เป้าหมาย Verterra คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสำหรับคนรุ่นอนาคตให้ยังคงสมบูรณ์ต่อไป

มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ชุมชนที่มีให้จำกัดการเข้าถึงทรัพยากร

gbverterra_03gbverterra_02

ผลิตภัณฑ์มีการผลิตในภูมิภาคเอเชียใต้ ที่ India’s Malabar Coast

ได้สร้างงานหลายรูปแบบในสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล

การฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการทำงาน

จุดมุ่งหมายของเราคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ แรงงานได้รับผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ย

gbverterra_06

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญสูงสุดของVerterraคือรักษาโลก บริษัทมักจะนำเสนอวิธีการใหม่ที่จะทำให้กระบวนการทั้งหมดจากวัสดุที่ทำภาชนะ

มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

HOW-verterra-MADE_large

——————————————-

พอได้อ่านเรื่องราวของ Verterra แล้ว ก็ทำให้อดนึกถึงกิจการเพื่อสังคมแบบนี้ในไทยบ้าง

ตัวอย่าง Social Enterprise ในไทย

อย่างเช่น ๑4๑ Social Enterprise ธุรกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งจากอดีตอาจารย์นักออกแบบที่เล็งเห็นถึงปัญหาของเด็กไทยในการเข้าถึงของเล่น

๑4๑_social_enterprise
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.facebook.com/141SE

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆในศูนย์รับเลี้ยงต่างๆ ที่ขาดโอกาสที่จะได้เล่นของเล่นที่ดี

ลักษณะของ ๑4๑ Social Enterprise ก็เป็นการนำเทคนิคการบริหารทรัพยากร จากผลิตภัณฑ์ของบริษัท

มาทำเป็นของเล่นเพื่อส่งต่อความสุขให้กับเด็กๆที่ไม่มีโอกาสในประเทศไทย

ตัวอย่างเช่น นาฬิกา ทาง๑4๑ ก็จะออกแบบโดยเจาะรูเป็นรูปร่างต่างๆ และนำไม้ที่เหลือจากการเจาะนั้น มาทำของเล่นให้กับเด็กๆ

ลูกค้าที่ซื้อนาฬิกาไป ก็จะทราบว่านาฬิกาเรือนนี้ส่วนที่เป็นรู ไม้ส่วนนั้นได้ส่งต่อไปเป็นของเล่นให้เด็กผู้ยากไร้ต่อไป

www.facebook.com/141SE

singha park

หรืออย่างทางภาคเหนือของเรา ที่จังหวัดเชียงราย

ไร่สิงห์ปาร์คก็เป็นอีกกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) แห่งหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมในเชิงการท่องเที่ยวและส่งเสริมอาชีพให้กับคนในพื้นที่

ที่ Singha Park ล้วนใช้การจ้างงานจากคนในท้องถิ่น ในการเพาะปลูกต่างๆ โดยที่คนงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและยังได้ความรู้จากการทำงาน ที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างอาชีพให้กับชุมชนได้อีกด้วย

singha_park_10singha_park_19

ที่นี่เปรียบได้กับเป็นแหล่งที่คนท้องถิ่นใช้เป็นศูนย์กลางในการดำเนินธุรกิจ ( People Centered )

รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆของทางไร่ ก็กลับมาเป็นผลตอบแทนให้แก่ชาวไร่ คนงาน ทั้งในรูปแบบค่าจ้าง ค่าตอบแทน

รวมไปถึงความรู้ต่างๆที่ชุมชมได้จากการทำงาน

และพัฒนากลับมาทำคืนให้กลับทางไร่อย่างยั่งยืน ( Sustainable Development )

ภายบริเวณไร่ Singha Park มีแปลงทดลองปลูกพืชหลากหลายชนิด เช่น ไร่พุทรา ไร่สตรอเบอร์รี่ ไร่เสาวรส  ไร่พริกฮาบาเนโร่ ไร่บลูเบอร์รี่ ไร่มัลเบอร์รี่ ไร่ราสเบอร์รี่ หรือแม้กระทั่งไร่ชาขนาดใหญ่

———————

เห็นแบบนี้แล้ว หากในประเทศเรามีธุรกิจเพื่อสังคมเยอะๆมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คงจะดีไม่น้อย